เมนู

ทุเหตุกะบ้าง ย่อมเป็นอเหตุกะบ้าง ไม่เป็นติเหตุกะ กุศลกรรมที่เป็นอสังขาริก
ย่อมให้วิบากเป็นอสังขาริกบ้าง เป็นสสังขาริกบ้าง. กุศลที่เป็นสสังขาริกย่อม
ให้วิบากเป็นสสังขาริกบ้าง อสังขาริกบ้าง. เวทนาพึงเปลี่ยนไปตามอารมณ์
ตทารัมมณะพึงกำหนดด้วยชวนะ.

ว่าด้วยวิบากจิต 16 ดวง นัยของพระจูฬนาคเถระ


บัดนี้ พึงทราบเห็นเกิดวิบาก 16 ดวงเป็นต้นในวาทะของพระเถระนั้น ๆ
ก็สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิตดวงที่หนึ่งเช่นเดียวกับกามาวจรกุศลดวงที่
หนึ่ง ออกจากการอยู่ในครรภ์แล้ว เข้าถึงความเป็นผู้สามารถเพื่อเริ่มตั้งอยู่ใน
สังวรและอสังวร เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองจักษุทวารแล้ว มโนธาตุที่เป็นกิริยา
ไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป ขอบเขตอารมณ์ที่ก้าวล่วงก็ไม่มี เพราะเหตุไร จึง
เป็นเช่นนั้น เพราะอารมณ์มีกำลังอ่อน นี้เป็นโมฆวาระหนึ่งก่อน.
ก็ถ้าว่า จิตนั้นหมุนไปสู่ภวังค์ เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้
เปลี่ยนไป จิตนั้นไม่ทันถึงโวฏฐัพพนะเลย จิตนั้นจักกลับมาตั้งอยู่ในจักขุวิญญาณ
หรือสัมปฏิจฉันนะ หรือสันติรณะดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่มีได้. แต่ว่าจิตหนึ่ง
ดวงบ้าง สองดวงบ้าง ตั้งอยู่ในโวฏฐัพพนะเป็นไป จากนั้นก็ดำรงอยู่ในที่ชวนะ
ได้อาเสวนะแล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก แม้จิตนี้ก็ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะ
ความที่อารมณ์ทุรพล แต่วาระนี้ย่อมได้ในเวลาที่กล่าวถ้อยคำมีอาทิว่า รูปนี้
เหมือนข้าพเจ้าเห็นแล้ว เสียงนี้เหมือนข้าพเจ้าฟังแล้ว ดังนี้ โมฆวาระแม้นี้
เป็นที่สอง.
เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยาของบุคคลอื่นอีก ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปแล้ว
วิถีจิตทั้งหลายย่อมเกิด ชวนะย่อมแล่นไป ในเวลาสุดแห่งชวนะก็เป็นวาระของ
ตทารัมมณะ แต่ตทารัมมณะนั้นยังไม่เกิดเลย ก็หยั่งลงสู่ภวังค์ไป ในข้อนั้นมี
อุปมาดังนี้